ฟอนต์ฟอนต์ฟอนต์ฟอนต์ฟอนต์ฟอนต์

ฟอนต์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
แนวคิดในการออกแบบตัวอักษรชุดตระกูลซีอาร์ยู (CRU-Fonts Design Concept)
ผลงานออกแบบอักษร(Typeface Design)และชุดตัวพิมพ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์(font computer program) เป็นผลงานวิจัยสร้างสรรค์(Creative Research)ที่เกิดจากงานวิจัยเรื่อง การออกแบบกราฟิกเอกลักษณ์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปี 2553 โดยที่ผู้ออกแบบ วิจัย สร้างสรรค์ ต้องการให้เป็นชุดตัวอักษรที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นตามโครงสร้างมาตรฐานตัวอักษรไทย ได้กลมกลืนกับแบบตราสัญลักษณ์ของราชภัฏเดิม และมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมปัจจุบัน ที่สื่อให้เห็นถึงเอกลักษณ์ ที่มาของความเป็นสถาบันราชภัฏและความเชื่อมโยงกันของมหาวิทยาลัยกลุ่มของราชภัฏ สามารถนำไปใช้ร่วมติดตั้งใช้ได้กับระบบคอมพิวเตอร์ โดยออกแบบพัฒนาให้นำไปใช้เป็นอักษรแบบตกแต่ง(Display Typeface)และตัวเรียงพิมพ์ข้อความ(Text Typoeface) เนื้อหาเอกสารตำรา ในสื่อหรืองานสิ่งพิมพ์ เป็นส่วนประกอบร่วมในงานทัศนสื่อสาร เพื่อเสริมสร้างเอกลักษณ์มาตรฐานเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ และหรือเพือภาระงานทัศนสื่อสารด้านการศึกษาและการแบ่งปันความรู้และพัฒนาสืบเนื่องตามเงื่อนไขสัญญาอนุญาตใช้ อันประกอบด้วยแบบอักษรและชุดตัวพิมพ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3 ชุดได้แก่
1.ซีอาร์ยู-จันทรเกษม CRU-Chandrakasem version 1.0
2.ซีอาร์ยู-ราชภัฏ CRU-Rajabhat version 1.0
3.ซีอาร์ยู-ลานจันทร์ CRU-LanChand version 1.0
เจ้าของลิขสิทธิ์ผลงาน ผศ.ประชิด ทิณบุตร และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประเภทงานลิขสิทธิ์ ผลงานทางวรรณกรรม (คอมพิวเตอร์)
แหล่งอ้างอิง - ThaiFont.info
ซีอาร์ยู-จันทรเกษม
ซีอาร์ยู-ราชภัฏ
ซีอาร์ยู-ลานจันทร์
ฟอนต์มาตรฐานราชการไทย
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) รายงานว่า ปัจจุบันส่วนราชการจำนวนมากมีการใช้ฟอนต์ที่หลากหลายไม่มีมาตรฐานในเอกสาร ทางราชการ อีกทั้งยังมีหน่วยงานราชการหลายแห่งใช้มาตรฐานฟอนต์ของบริษัทเอกชนที่ผูกขาด ลิขสิทธิ์ของระบบปฏิบัติงาน ทำให้จำกัดสิทธิ์ต่าง ๆ ที่จะมีมาตรฐานเอกสารเป็นเสรี ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการใด ๆ เช่น Angsana อาจมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ได้ จึงได้มีการพัฒนาและมีการประกวดแข่งขันฟอนต์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้ Open Source Software ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีให้ส่วนราชการไทยประกาศมาตรฐานเอกสารดิจิทัลและรูปแบบ ของฟอนต์ที่ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการและลิขสิทธิ์ของบริษัทใด ๆ เพื่อความภาคภูมิใจในความเป็นชาติและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย
ซึ่งในขณะนี้มีฟอนต์ที่ส่วนราชการไทยสามารถเป็นเจ้าของและพร้อมแจกจ่าย ให้กับผู้ประสงค์จะใช้งานรวม 13 ฟอนต์ ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อแจกจ่ายให้ใช้อย่างเสรีปราศจากปัญหาด้าน ลิขสิทธิ์
ฟอนต์แห่งชาติมี กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นผู้ทรงลิขสิทธิ์ อนุญาตให้สาธารณชนใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง แจกจ่ายได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่ห้ามขาย ยกเว้นขายรวมกับซอฟต์แวร์อื่น สำหรับการดัดแปลงฟอนต์ สามารถกระทำได้ แต่ห้ามใช้ชื่อฟอนต์เดิมและห้ามใช้ชื่อผู้ทรงลิขสิทธิ์และผู้พัฒนาในการโฆษณาฟอนต์ที่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ฟอนต์ที่ดัดแปลงจากฟอนต์แห่งชาติต้องอนุญาตให้ใช้ด้วยเงื่อนไขเดียวกับฟอนต์แห่งชาติ